(ช่วยคนโดนไฟฟ้าดูด) จากกรณี เมื่อวันที่ 16 ก.ย. 2565 โลกออนไลน์แห่แชร์คลิป นักเรียนนอนคว่ำอยู่ในน้ำที่ท่วมถนน หลังพบว่าโดนไฟช็อต โดยในคลิปดังกล่าวมีคนเข้าไปช่วย จนโดนไฟช็อตไปด้วย แต่ก็ยังพยายามพาเด็กคนดังกล่าวออกมาจากจุดเกิดเหตุได้สำเร็จ พร้อมแจ้งหน่วยกู้ชีพนำผู้บาดเจ็บส่งโรงพยาบาล จนสร้างความตื่นตระหนกตกใจให้แก่ผู้ที่พบเห็นเป็นอย่างมาก นั้น
การช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยเฉพาะผู้ที่บาดเจ็บในทุกกรณีนั้น สิ่งสำคัญที่เราควรคำนึงถึงเป็นอันดับแรกเสมอคือ “ความปลอดภัยของตัวเรา” ช่วยคนอื่นเราต้องรอด ต้องปลอดภัย
ในช่วงฝนตกน้ำท่วม ควรคิดไว้เสมอว่าโลหะทุกชนิดที่สัมผัสกับน้ำ มีโอกาสที่จะมีกระแสไฟฟ้าไฟไหลเวียนอยู่ ซึ่งเมื่อเราไปสัมผัสก็อาจจะเกิด “ไฟดูด” อันตรายถึงชีวิตได้ ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่จักรยานยนต์ที่หลบฝนชั่วคราวแล้วโน้มตัวไปจับที่เสา หรือกรณีคนเดินลุยน้ำแล้วนำมือไปจับเสาเพื่อประคองตัว ล้วนแล้วแต่มีอันตรายถึงชีวิตทั้งสิ้น
อ.ดุสิต สุขสวัสดิ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ยกกรณีตัวอย่างจากคลิปเหตุการณ์พลเมืองดีลุยน้ำเข้าไปช่วยเหลือนักเรียนถูกไฟดูดที่ จ.อุดรธานี อันดับแรกต้องต้องเข้าใจกระบวนการก่อน เริ่มจากการสังเกตดูโลหะที่จมในน้ำ กรณีนี้มือมือขวาของน้องนักเรียนหญิงที่โดนไฟดูดจับคาอยู่ที่เสาไฟ ซึ่งโดยทั่วไปไฟฟ้าเมื่อไหลเวียนเข้าสู่ร่างกายจะทำให้กล้ามเนื้อเกร็งและล็อก ทำให้ไม่สามารถคลายมือออกได้ ถ้าเป็นมือซ้ายจะอันตรายมาก เพราะไฟฟ้าจะวิ่งไปที่หัวใจ ตับ ปอด และอาจทำให้เสียชีวิตได้ในเวลาไม่นาน แต่ถ้าเป็นเป็นมือขวา ไฟฟ้าจะไหลลงไปที่เท้า และทำให้เราขยับตัวลำบาก ผู้ถูกไฟดูดต้องมีสติตัดสินใจภายในไม่เกิน 20 วินาทีก่อนจะหมดสติ ใช้เท้าถีบตัวเองออกมาให้มือหลุดจากเสา หรืออาจต้องยอมเจ็บนำมือขวามาจับที่เสาอีกข้าง เพื่อให้ไฟฟ้าไหลผ่าน จากนั้นมือซ้ายเราจะเริ่มคลายตัวได้
ส่วนผู้ที่เข้ามาช่วยเหลือ สิ่งที่ต้องท่องไว้คือ “เข้า-ออก ให้เร็ว” หาวัสดุที่มีคุณสมบัติเป็นฉนวนไฟฟ้า เช่น เข็มเข็ด รองเท้ายางหนาๆ ฯลฯ ในการเข้าช่วยเหลือ สำคัญที่สุดคือต้องกระตุกให้มือผู้บาดเจ็บหลุดจากเสาให้ได้ และต้องทำอย่างรวดเร็ว หากค่อยๆจับค่อยๆดึง ผู้ช่วยเหลือถูกไฟดูดไปด้วยอีกคน ทั้งนี้เวลาน้ำท่วมและมีไฟฟ้ารั่วตามเสาโลหะ บริเวณโคนเสาจะมีสนามไฟฟ้ารัศมีประมาณ 1 ฟุตเท่านั้น การเดินเข้าไปช่วยเหลือสามารถทำได้ หากอยู่ในรัศมี 1 เมตรก็ยังถือว่าปลอดภัย อย่างไรก็ตามหากตัดจุดสัมผัสของร่างกายกับโลหะออกได้แล้ว สามารถประคองตัวผู้บาดเจ็บออกมาได้ ไม่มีอันตราย
สำหรับข้อแนะนำในช่วงฤดูฝน
- โลหะทุกชนิดที่จมน้ำมีโอกาสเกิดไฟรั่วได้ทั้งหมด ดังนั้นหากเราจำเป็นต้องสัมผัส ขอให้เริ่มจากการใช้หลังมือขวาแตะๆก่อน หากมีไฟดูด กล้ามเนื้อเราจะหดกลับและเด้งออกมา อย่าสัมผัสด้วยหน้ามือเด็ดขาดเพราะจะทำให้มือล็อก
- กรณีที่บ้านใครฝนตกจนน้ำท่วม ขอให้ระวังเรื่องสายไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิดถ้าจมน้ำแล้วจะไม่ปลอดภัยเหมือนเดิม ค่าความต้านทานจะเปลี่ยนไป แนะนำให้ซื้อใหม่ในทันที
- จงระวัง…เมือน้ำท่วมอย่าเดินเข้าใกล้เสาไฟฟ้า..!! อย่าเอามือสัมผัสเสาไฟฟ้าเด็ดขาด..!!
ที่มา : js100.com